แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
รายวิชา ศิลปะพื้นฐาน รหัสวิชา ศ 21101 เวลาเรียน 4
ชั่วโมง
เรื่อง รูปร่างและรูปทรงในสิ่งแวดล้อมกับการมองเห็น
ครูสะอาด สุวรรณสิทธิ์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมายของทัศนศิลป์ รูปร่าง
รูปทรง สี เทคนิคอุปกรณ์ สร้างสรรค์งานศิลปะด้วยทัศนธาตุ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รู้ความงามจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
วิเคราะห์เรื่องราวทางศิลปะและใช้ข้อมูลทางเทคโนโลยีเชื่อมโยงความรู้ทางศิลปะ ตลอดจนมีความภาคภูมิใจต่อคุณค่าของศิลปะ
ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เพื่อสื่อความคิดสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยความชื่นชมและเห็นคุณค่าความงาม
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานศ.1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก
ความคิดต่องานศิลปะอย่างมีอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาไทยและสากล
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
1.
รู้วิธีสื่อความคิด จินตนาการ ความรู้สึก ความประทับใจ ด้วยวัสดุ
อุปกรณ์ วิธีการทางศิลปะและสื่อความหมายได้
2.
คิดริเริ่ม ดัดแปลงการใช้ทัศนธาตุและองค์ประกอบทางทัศน์ศิลป์ เทคนิค
วิธีการ รูปแบบใหม่ๆ ในการสร้างงานทัศน์ตามความถนัดและความสนใจ
3.
ใช้กระบวนการสร้างงานทัศนศิลป์ ประยุกต์ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์
และเทคโนโลยี ได้อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ
4. แสดงออกถึงความรู้สึกในการรับรู้ความงาม จากประสบการณ์ จินตนาการ
โดยใช้หลักและความงามของศิลปะตามความถนัดและความสนใจ
5.
แสดงความคิดเห็น อธิบายความหมาย จำแนกความแตกต่างของงานทัศน์ศิลป์
เกี่ยวกับทัศนธาตุและความงามของศิลปะ
6. นำความรู้และวิธีการ
ประสบการณ์ทางทัศน์ศิลป์ที่ตนถนัดและสนใจไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
และชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
7. เข้าใจความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะ
8. ซาบซึ้ง เห็นคุณค่าศิลปะ วัฒนธรรมไทย
มีส่วนร่วมในการสร้างงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาไทยและสากล
รหัส/ตัวชี้วัด
|
ตัวชี้วัดข้อที่
|
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
|
ศ1.1 ม.1/1
|
1.บรรยายความแตกต่างและความ
คล้ายคลึงกันของงานทัศนศิลป์ใน สิ่งแวดล้อมโดยใช้ความรู้เรื่อง ทัศนธาตุ |
-ความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของทัศนธาตุ
ในงานทัศนศิลป์และสิ่งแวดล้อม |
ผลการเรียนรู้ที่ครูต้องการ
1. นักเรียนรู้และเข้าใจความหมายของรูปร่างและรูปทรงทางศิลปะ
2. บูรณาการเรื่องราวและเนื้อหาของรูปร่างและรูปทรงสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้เหมาะสม
3. ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวกับรูปร่างและรูปทรงได้ตามความถนัดและสนใจด้วยความชื่นชมและเห็นคุณค่าโดยนำรูปร่างและรูปทรงมาออกแบบเป็นชิ้นได้อย่างสวยงามเหมาะสม
2. บูรณาการเรื่องราวและเนื้อหาของรูปร่างและรูปทรงสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้เหมาะสม
3. ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวกับรูปร่างและรูปทรงได้ตามความถนัดและสนใจด้วยความชื่นชมและเห็นคุณค่าโดยนำรูปร่างและรูปทรงมาออกแบบเป็นชิ้นได้อย่างสวยงามเหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ......................................................................................................
2. .......................................................................................................
3. .......................................................................................................
ภาระงาน (ตัวอย่าง)
1.กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด
คุรุราษฏร์พึ่งตนเองอย่างพอเพียง”
2. นิทรรศการแสดงผลงานทัศนศิลป์ของนักเรียน
3.การนำเสนอผลงานทัศนศิลป์ด้วย
Weblog
สาระการเรียนรู้
1.
ความหมายและความสำคัญของทัศนธาตุและทัศนศิลป์
2. ความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของงานทัศนศิลป์ในสิ่งแวดล้อม
3. รูปร่างและรูปทรงในงานศิลปะ
การบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียง
1.
ความพอเพียง
ความพอประมาณ
สามารถปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานตามศักยภาพของตนเองได้เหมาะสมกับเวลา อุปกรณ์
เทคโนโลยีและสถานการณ์
ความมีเหตุผล
สามารถวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการใช้รูปร่างและรูปทรงต่างๆในงานและสิ่งแวดล้อม
การไตร่ตรองในการใช้รูปร่างและรูปทรงให้เหมาะกับงานทัศนศิลป์
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ชื่นชมและเห็นคุณค่าในผลงานของตนเองและผู้อื่นตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
เห็นความสำคัญของการมีความรู้เกี่ยวกับทัศนศิลป์
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม
2.
คุณธรรมกำกับความรู้
เงื่อนไขคุณธรรม
สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองและผลงานมีคุณค่าต่อตนเอง
ผู้อื่นและสังคม
รับผิดชอบงานทั้งของตนเองและส่วนรวม
มีความสามัคคีในหมู่คณะ
มีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
มีการแบ่งปันและช่วยเหลือกัน
ดูแลรักษาเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี
เงื่อนไขความรู้
มีความรู้เรื่องรูปร่างและรูปทรงในสิ่งแวดล้อมกับการมองเห็น
สามารถผลิตชิ้นงานเกี่ยวกับรูปร่างและรูปทรงได้เหมาะสมตามหลักทัศนศิลป์
รู้หลักการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กระบวนการเรียนรู้
- การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่าง
การเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติกับการเรียนรู้ด้วยเว็บบล็อก
- กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิด
“คุรุราษฎร์พึ่งพาตนเองอย่างพอเพียง”
กิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูนำเสนอภาพหรือวัตถุ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัว
แล้วชวนสนทนาถึงความเหมาะสมสวยงามในทัศนของผู้เรียน
2. ครูเชื่อมโยงการสนทนาเข้าสู่เรื่องรูปร่างและรูปทรงในสิ่งแวดล้อมกับการมองเห็น
3. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
4. ครูให้นักเรียนศึกษาจากใบความรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง
ในสิ่งแวดล้อมกับการมองเห็น
และครูสุ่มถามความรู้จากนักเรียนเป็นรายบุคคล
5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย สรุปสาระสำคัญ
และความคิดรวบยอด
6. ครูมอบหมายใบงานและชี้แจงให้นักเรียนทำงานเป็นรายบุคคล...............
7.
ครูมอบหมายใบงานและชี้แจงให้นักเรียนทำงานกลุ่ม............................
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1.
ใบความรู้
2.
เว็บบล็อก
3.
ตัวอย่างศิลปะในท้องถิ่น
4.
บุคลากรในท้องถิ่น
แนวคิดหลัก
ทัศนธาตุเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทำให้เกิดงานศิลปะประเภททัศนศิลป์
ซึ่งเป็นงานศิลปะที่สื่อสารและกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกด้วยการมองเห็นทางตา นอกจากนี้ทัศนธาตุยังเป็นองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเรา
ทำให้สิ่งต่างๆมีความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันไปตามคุณสมบัติของทัศนธาตุแต่ละชนิด
ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจทัศนธาตุเพื่อให้สามารถแยกแยะความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของงานทัศนศิลป์และสิ่งแวดล้อมได้
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
เส้น (line) เป็นทัศนธาตุพื้นฐานสำคัญของรูปร่างและรูปทรง ซึ่งมีลักษณะเป็นร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น นอกจากนี้เส้นยังเกิดจากการขูดขีดข่วน การตัดกันของแสงเงา การเปลี่ยนทิศทางของระนาบทำให้มองเห็นเป็นขอบ สัน เป็นต้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้างสามารถกระตุ้นความรู้สึกแตกต่างกันตามคุณลักษณะของเส้นนั้นๆ เส้นจำแนกตามคุณลักษณะได้ 2 ชนิด ได้แก่ เส้นตรง และ เส้นโค้ง แต่ละชนิดจำแนกเป็นเส้นลักษณะต่างๆกัน
เส้น (line) เป็นทัศนธาตุพื้นฐานสำคัญของรูปร่างและรูปทรง ซึ่งมีลักษณะเป็นร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น นอกจากนี้เส้นยังเกิดจากการขูดขีดข่วน การตัดกันของแสงเงา การเปลี่ยนทิศทางของระนาบทำให้มองเห็นเป็นขอบ สัน เป็นต้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้างสามารถกระตุ้นความรู้สึกแตกต่างกันตามคุณลักษณะของเส้นนั้นๆ เส้นจำแนกตามคุณลักษณะได้ 2 ชนิด ได้แก่ เส้นตรง และ เส้นโค้ง แต่ละชนิดจำแนกเป็นเส้นลักษณะต่างๆกัน
รูปร่าง(Shape) รูปร่างเกิดจากการลากเส้นไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งให้บรรจบกันแสดงขอบเขตพื้นที่รูปต่าง
ๆ ที่แยกภายในกับภายนอกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น
รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ
รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวลรูปร่าง รูปร่างที่ใช้ในงานศิลปะมี 3 ลักษณะคือ
รูปร่างเรขาคณิต รูปร่างธรรมชาติ และรูปร่างอิสระ
รูปร่างเรขาคณิต รูปร่างธรรมชาติ และรูปร่างอิสระ
รูปทรง (Form) หมายถึง โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฏแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ
คือมีทั้ง ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนาหรือลึก ให้ความรู้สึกเป็นแท่ง
มีเนื้อที่ภายใน มีปริมาตร และมีน้ำหนัก
ภาระงาน/ชิ้นงาน
1.นักเรียนนำรูปร่างแต่ละลักษณะมาออกแบบเป็นชิ้นงานได้ตามความเหมาะสม
สวยงาม โดยแต่ละชิ้นงานมีความคล้ายคลึงละแตกต่างทั้งทางด้าน เส้น สี และรูปร่าง
2.นักเรียนนำชิ้นงานเรื่องของรูปร่างไปประกอบเป็นรูปทรงได้ถูกต้อง
โดยใช้แนวทางต่างๆ ตามลักษณะของรูปร่างทั้ง 3 ลักษณะ
การวัดและประเมินผล
1.วัดผลจากผลงานที่นักเรียนได้รับมอบหมายตามใบงานที่กำหนด
2. ประเมินผลจากกระบวนการประเมินแบบ
3 เส้า (tri
– angulation)
การวิเคราะห์เนื้อหาเรื่อง
“เส้น” ให้สอดคล้องกับ KS
model
1.พึ่งตนเอง
: ผู้เรียนศึกษาเรื่องเส้นจากเอกสารใบงานที่ได้รับในชั้นเรียนปกติ
และศึกษาเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต
แล้วบันทึกความรู้ไว้ในเว็บบล็อก
2. แบ่งปันผู้อื่น
: ผู้เรียนแต่ละคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาที่ศึกษาจากเอกสารใบงานและอินเตอร์เน็ต
โดยการสนทนา อภิปราย ทายปัญหา
หรือ เล่นเกมตามความเหมาะสม
แล้วบันทึกข้อสรุปไว้ในเว็บบล็อก
3. ดำรงความเป็นไทย
: ผู้เรียนแต่ละคู่ร่วมกันวิเคราะห์คุณลักษณะของเส้นแต่ละชนิดที่สอดคล้องกับคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยรวมของความเป็นไทย โดยศึกษาจากแหล่งชุมชนภายในและภายนอกโรงเรียน แล้วบันทึกเนื้อหาไว้ในเว็บบล็อก
4. วิถีธรรมาธิปไตย
: ผู้เรียนแต่ละคนแต่ละคู่ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง
ๆ ด้วยความซื่อสัตย์โดยการอ้างอิง
มีความมานะพยายามพากเพียร
และตรงต่อเวลา
5.พัฒนาเทคโนโลยี
:ผู้เรียนแต่ละคนแต่ละคู่ปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบและมีความเป็นกัลยาณมิตรโดยใช้เทคโนโลยีประเภทเครื่องมือเป็นสิ่งสนับสนุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้
6. มีส่วนร่วม
: ผู้เรียนแต่ละคนแต่ละคู่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเส้นกับเพื่อน
ครูผู้สอน บุคลากรในชุมชนทุกรูปแบบทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างมีความหมายและภาคภูมิใจ
7.สัมมาอาชีพ
: ผู้เรียนแต่ละคนแต่ละคู่ศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเส้นกับเนื้อหาวิชาใดบ้าง
เส้นมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพนั้นอย่างไร โดยศึกษาจากเอกสารตำราและอินเตอร์เน็ต แล้วบันทึกข้อสรุปไว้ในเว็บบล็อก
8. รักษ์สิ่งแวดล้อม
: ผู้เรียนแต่ละคนแต่ละคู่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเส้นลักษณะต่าง
ๆ ในโรงเรียนและชุมชนท้องถิ่น
สรุปให้เห็นถึงคุณลักษณะและประโยชน์ของเส้นแต่ละชนิด แล้วบันทึกข้อสรุปลงในเว็บบล็อก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น